วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เมืองพิจิตร


ประวัติจังหวัดพิจิตร
จังหวัดพิจิตร พิจิตร แปลว่า เมืองงาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1601 โดยเจ้ากาญจนกุมารราชบุตรพระยาโคตรบอง สมัยสุโขทัย บนริมฝั่งแม่น้ำน่านก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ ด้านเหนือยาว 10 เส้นด้านใต้ยาว 10 เส้น ด้านตะวันออกยาว 35 เส้นด้านตะวันตก เป็นหน้าเมืองหันหน้าไปทางแม่น้ำเป็นกำแพง 2 ชั้น ห่างกัน 15 วา มีป้อมประตู หอรบ ขณะนี้ยังมีปรากฏซากเมืองเป็นร่องรอยอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าเดิมชื่อเมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวร และเมืองปากยม สมัยสุโขทัยจังหวัดพิจิตรมีชื่อเรียกว่า เมืองโอฆะบุรี ซึ่งแปลว่าเมืองใต้ท้องน้ำ เมืองพิจิตรเป็นที่ประสูติ ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ และเป็นถิ่นกำเนิดของนิทาน เรื่องไกรทองอันลือลั่น จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างระหว่างจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ ตัวเมืองพิจิตรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่าน จังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำไหลผ่านถึง 2 สายด้วยกัน คือแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ความหนาแน่นประชากร 126.06 คน/ ตารางกิโลเมตร รายได้เฉลี่ย/คน/ปี 22,675 บาท


ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,020 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนครสวรรค์
ลักษณะภูมิประเทศและการประกอบอาชีพ

มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตอนกลางและค่อยสูงขึ้นทางทิศตะวันออกและตะวันตกมีแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านไหลผ่านจากเหนือจรดใต้ มีบึงสีไฟ และบึง หนอง คลอง อีกจำนวนมาก
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส ต่ำสุดโดยประมาณ 14.4 องศาเซลเซียส สูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 911.3 มิลลิเมตร สูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร
การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นภาคการผลิตหลัก รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการบริการ ผลผลิตสำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการประมง